บทเรียน เรื่อง คลื่นกล
 บทเรียนที่ 2 ส่วนประกอบต่าง ๆ ของคลื่น
  แบบทดสอบก่อนเรียน บทเรียนที่ 2
  องค์ประกอบของคลื่น
  การคำนวณอัตราเร็วของคลื่น
  เฟสของคลื่น
  แบบทดสอบหลังเรียน บทเรียนที่ 2
 บทเรียนที่ 3 การสะท้อนของคลื่น
  แบบทดสอบก่อนเรียน บทเรียนที่ 3
  การสะท้อนของคลื่น
  การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก
  การทดลองกฎการสะท้อนของคลื่น
  แบบทดสอบหลังเรียน บทเรียนที่ 3
 บทเรียนที่ 4 การสะท้อนของคลื่น
  แบบทดสอบก่อนเรียน บทเรียนที่ 4
  ทดลองการหักเหคลื่น
  ความหมายและตัวอย่างการหักเหของคลื่น
  ความสัมพันธ์และปริมาณที่เกี่ยวข้องกับ
      การหักเหของคลื่น
  แบบทดสอบหลังเรียน บทเรียนที่ 4
 บทเรียนที่ 5 การเลี้ยวเบนของคลื่น
  แบบทดสอบก่อนเรียน บทเรียนที่ 5
  ทดลองการเลี้ยวเบนของคลื่น
  หลักการของฮอยเกนส์
  คลื่นนิ่งในเส้นเชือก
  แบบทดสอบเรียนหลัง บทเรียนที่ 5
   บทเรียนที่ 6 การแทรกสอดของคลื่น
  แบบทดสอบก่อนเรียน บทเรียนที่ 6
  ทดลองการแทรกสอดของคลื่น
  การแทรกสอดแบบเสริมและแบบหักล้าง 
  ความสัมพันธ์และปริมาณที่เกี่ยวข้องกับ
      การแทรกสอดของคลื่น
  แบบทดสอบหลังเรียน บทเรียนที่ 6
รายละเอียดหลังเรียนด้วยบทเรียน
    แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง คลื่นกล
    ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
    ผู้จัดทำ
   
 
บทเรียน 1 ชนิดของคลื่น เรื่อง ชนิดของคลื่น

การจำแนกประเภทของคลื่น

เราสามารถจำแนกชนิดของคลื่นโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน คือ

1. ถ้าใช้ลักษณะการอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่เป็นเกณฑ์ จะจำแนกคลื่นออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

 

1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ได้โดยต้องอาศัยตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ เช่น คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นในลวดสปริง คลื่นแผ่นดินไหว ลื่นเหล่านี้สามารถถ่ายโอนพลังงานโดยอาศัยสมบัติความยืดหยุ่นของตัวกลาง

 

1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ผ่านสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

2. ถ้าใช้ลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางเป็นเกณฑ์ จะจำแนกคลื่นได้ 2 ชนิด คือ

  2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากอนุภาคตัวกลางเคลื่อนที่   ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ได้แก่ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นน้ำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 

  ภาพ แสดงลักษณะของคลื่นตามขวาง
ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=คลื่นตามขวาง&espv
 

 

  2.2 คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นในลวดสปริง
 

  ภาพ แสดงคลื่นตามยาวในลวดสปริง
ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=คลื่นตามยาวในลวดสปริง&espv
 
 

ภาพ แสดงคลื่นเสียง คลื่นเสียงความถี่สูงของค้างคาวและระบบโซนาร์ หาตำแหน่งของวัตถุใต้ทะเล
ที่มา : https://orapanwaipan.wordpress.com

   

3. ถ้าใช้ลักษณะการเกิดคลื่นเป็นเกณฑ์ จะจำแนกคลื่นออกเป็น 2 ประเภท คือ

 

3.1 คลื่นดล (Impulse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดคลื่นถูกรบกวนเพียง    ครั้งเดียวทำให้เกิดคลื่นเพียง 1–2 ลูก

 

3.2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดคลื่นถูกรบกวนเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง

 

ภาพ คลื่นต่อเนื่อง
ที่มา : http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/html/021/176.htm

 
 
 
     
ออกแบบและพัฒนาโดย นายประธาน ดวงคำ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนโคกสะอาดวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ตำบลโคกสะอาด อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
เลขที่ 182 หมู่ 6 ตำบลโคกสะอาด อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 36110